ตอนที่ 2 เมื่อรู้ว่าเป็นกระดูกกราม ก็ต้องแก้ไขด้วยการ ตัดกราม
ปรึกษามาดามวุ้นเส้น
ติดต่อ line : @pavoonsen (มี@นะคะ)
Tel: 0900420999
เวลาทำการ 11.00-20.00 น
มุมกรามของคนเราจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ กระดูกมุมกรามและกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว ที่ชื่อว่า Massater muscle ดังนั้นการแก้ไขรูปหน้า เหลี่ยมใหญ่ ให้เรียวลง
จึงทำได้ 2 วิธีคือ
ในกรณีที่ใหญ่เพราะกล้ามเนื้อ Massater muscle ต้องใช้วิธี ฉีดสาร Botox ที่กล้ามเนื้อดังกล่าว จะมีผลทำให้กล้ามเนื้อที่ฉีด ฝ่อตัวลง หน้าก็จะเล็กเรียวลง
ส่วนในกรณีที่หน้าใหญ่ เหลี่ยม จากกระดูกมุมกรามนั้น หากต้องการ
แก้ไขให้เรียวขึ้นสวยขึ้น ต้องใช้วิธีการผ่าตัดศัลยกรรม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ในตอนนี้จะอธิบายเรื่องวิธีการตัดกรามนะค๊ะ
ใบหน้าของคนทั่วไปจะสามารถแบ่งส่วนออกเป็นสามส่วนหลัก ๆ
1 ส่วนบนสุด ได้แก่กระโหลกและหน้าผาก [ Frontal bone ]
2 ส่วนกลาง คือ ส่วนกรามบน [ Maxilla ]
ดั้งจมูก [ Nasal bone ] โหนกแก้ม [Zyqomatic bone ]
และเบ้าตา
3 ส่วนล่างสุดคือ กรามล่าง [ Mandible ] กระดูกกรามที่หลาย ๆ คน
อยากให้มันเรียวขึ้นนั่นเอง
การมีสัดส่วนของกระดูกกรามที่ใหญ่เกินเหมาะสม ย่อมจะทำให้รูปร่างของใบหน้าดูงามน้อยลงได้ หรือแทบไม่งามเลย ยกเว้นที่มีกรามแล้วได้สัดส่วนอย่าง ดาราฝรั่ง หลาย ๆ คน
ในปัจจุบันผู้หญิงทั่วไปนิยมรูปใบหน้าที่เรียวยาวมากกว่าใบหน้ากว้างเหมือนเมื่อสมัยก่อนตอนป้าสาว ๆ ที่หน้าแบบ คาร่า พลสิทธ์ ฮิตมากมาย
ปกติในคนไทยและเอเซียเช่นญี่ปุ่น เกาหลี มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับใบหน้าส่วนกลางและส่วนล่าง คือ มีโหนกของกระดูกโหนกแก้ม และกราม เกินความจำเป็น ( มีในที่ ๆ ไม่ควรมี ไอ้ที่ควรมี อย่าง ดั้งเนี่ยดันไม่มี นมก็ไม่ค่อยมีกันเอะ )ทำให้รูปทรงใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ดังนั้นการตัดแต่งกระดูกในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นต้องการ
ของผู้ที่อยากจะได้รูปหน้าที่เรียวขึ้น ตามสมัยนิยม
ซึ่งในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางการผ่าตัดกระดูกใบหน้าและศีรษะได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำให้การผ่าตัดแก้ไขโครงสร้างของใบหน้าสามารถทำได้มากยิ่งขึ้นและมีความปลอดภัยมากขึ้น เช่นเดียวกับการแก้ไขกรามเพื่อความสวยงามก็เป็นที่นิยมมากขึ้น เช่นเดียวกัน
ที่ป้าวุ้นเส้นจะกล่าวถึงต่อไปนี้ จะเป็นการตัดแต่งมุมกรามเพื่อความสวยงามอร่ามตานะค๊ะ ไม่ใช่การตัดกราม เพื่อแก้ไขความผิดปกติของการสบฟันและการขบเคี้ยว ใด ๆ
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลด้านวิชาการค่ะ
เมื่อพิจารณากรามที่ยื่นทางด้านหลังนั้น มีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องด้วยกันได้แก่ กระดูกกรามด้านหลังหรือมุมกราม กล้ามเนื้อที่คลุมมุมกราม ซึ่งมีส่วนสำคัญในการบดเคี้ยวอาหาร ในบางคนมักจะมีขนาดใหญ่และหนาด้วย, เส้นประสาทที่มุดในกระดูกกรามเพื่อรับรู้ความรู้สึก ของซี่ฟันล่างส่วนหลังและริมฝีปากส่วนล่าง
มีภาพประกอบด้วย
การตัดแต่งมุมกรามนั้นมีขั้นตอนในการดูแลได้แก่ แพทย์ผู้รักษาจะต้องตรวจดูสภาพของกระดูกกรามทั้งหมดเสียก่อน อันได้แก่ความหนา ความสูงของกระดูกกรามทั้งอัน ความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกกรามและกระดูกใบหน้าส่วนบนรวมทั้งการสบฟันว่าผิดปกติด้วยหรือไม่ ความหนาของกล้ามเนื้อมุมกรามดังกล่าว ความผิดปกติของกระดูกกรามส่วนอื่น เช่นคาง
ข้อขากรรไกร รวมทั้งฟันซี่ต่าง ๆ ว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ เป็นต้น
ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อมูลมาประกอบการตัดกรามว่า
จะสามารถทำให้ใบหน้ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด
และจะได้รูปร่างของใบหน้าสมดุลย์กับส่วนอื่นของใบหน้าหรือไม่
หลังจากนั้นต้องมีการตรวจภาพถ่ายรังสีเพื่อดูกระดูกกรามทั้งหมด
และความยื่นของกระดูกกราม ฟันซี่ต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาแนวในการตัดกระดูกกรามว่าจะตัดในแนวใดจึงจะเหมาะสม เป็นต้น
ตามหลักการคุณหมอจะตัดห่างจากคอฟันกรามซี่สุดท้ายประมาณ 1.6-1.8 ซม ค่ะที่เหลือตัดทิ้งแต่ไม่ใช่ทิ้งทั้งหมดที่เกินค่ะ ต้องตัดให้พอดี พอดีไม่งั้นอาจจะกลายเป็นตัดมากเกินไปก็ได้ ต้องมาเติมกระดูกกันเข้าไปอีก
วิธีการทำ
การตัดกรามนั้นจำเป็นต้องทำร่วมกับการดมยาสลบ
เนื่องจากจะต้องมีการใช้เครื่องมือซึ่งเป็นเลื่อยอันเล็ก ๆ
สอดเข้าไปตัดที่มุมกราม
โดยทั่วไปแล้วจะสามารถเข้าไปตัดกระดูกได้โดยการผ่าตัด
ได้สองทางด้วยกันคือ
1. การผ่าตัดจากภายนอกช่องปาก
2. การผ่าตัดจากภายในช่องปาก
การผ่าตัดจากภายนอกช่องปาก :
เป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะเปิดแผลจากภายนอกบริเวณใกล้ ๆ
กับมุมกรามแล้วค่อย ๆ เลาะผ่านกล้ามเนื้อ
และหลบเส้นประสาทสำคัญเส้นหนึ่งที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมุมปาก
หลังจากนั้นจึงตัดแยกกล้ามเนื้อมุมกรามออก เข้าหากระดูกมุมกราม
เมื่อสามารถเปิดกระดูกมุมกรามส่วนที่ต้องการจะตัด
ได้เรียบร้อยแล้วจึงใช้เลื่อยตัดกระดูกตามแนวที่ต้องการ
แล้วเอาชิ้นกระดูกที่เกินนั้นออกไป
ตกแต่งมุมกระดูกให้เรียบร้อยแล้วจึงทำการเย็บแผลปิด
วิธีนี้แพทย์สามารถผ่าตัดได้ง่าย
เนื่องจากไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรพิเศษมากนัก
และไม่ต้องผ่านช่องปากเข้าไปหากระดูก
อาการบวมจึงมักจะน้อยกว่า
แต่วิธีนี้มีโอกาสที่แพทย์อาจจะกระทบกระเทือน
ต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงมุมกรามได้
แม้จะเป็นการชั่วคราวแต่ก็สามารถทำให้เกิดการเอียง
หรือเบี้ยวของมุมปากได้ในระยะแรก
และสิ่งสำคัญคือแผลผ่าตัดที่มุมกรามนั้นบางราย
อาจจะสามารถเห็นและสังเกตได้
และบางรายก็เกิดอาการแผลปูดนูนตามมาในระยะหลังได้
ซึ่งจะต้องทำการรักษาต่อไป
วิธีทำอีกหนึ่งวิธี ที่ดีกว่า เทพกว่า คือ
การผ่าตัดจากภายในช่องปาก :
วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะยุ่งยากมากกว่า และจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษกว่าการตัดจากภายนอก รวมทั้งทักษะความชำนาญของแพทย์ด้วยค่ะ
แพทย์จะทำการเปิดแผลที่ในช่องปากตรงบริเวณหลังฟันกรามซี่สุดท้าย ในแนวดิ่ง แล้วค่อย ๆ เลาะแยกเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวรวมทั้งกล้ามเนื้อที่คลุมมุมกรามออก เมื่อหายก็ไม่ต้องกลวผิวบริเวณนั้นเหี่ยวมันจะหดเป็นกล้ามเนื้อเอง เมื่อถูกใช้งานบดเคี้ยว เพราะไม่มีกระดูกกรามให้เกาะอีกต่อไป
หลังจากนั้นจึงเลาะเยื่อหุ้มกระดูกออกให้กว้างเพียงพอ
ที่จะสอดใส่เครื่องมือเข้าไปที่มุมกราม เพื่อจะให้เห็นมุมกรามและกรามส่วนหลังได้ชัดเจน
หลังจากนั้นจึงใช้เลื่อยที่มีรูปร่างเป็นเลื่อยมุมฉาก( เป็นเครื่องมือแพทย์ขนาดเล็กนะค๊ะ ไม่ได้มีลักษณะเหมือนเลื่อยตัดไม้แต่อย่างใด เข้าไปทำการตัดตามแนวที่ต้องการ เลื่อยชนิดนี้จะมีความยาวเพียงพอที่จะทำให้การตัดในแนวตั้งฉากสามารถทำได้ ( อ่านแล้วจินตนาการไปด้วย ได้อารมณ์ดีพิลึก )
เอาอีก หลอนกันด้วยรูปอีกครั้ง หุหุ ลงซ้ำกันให้ดู ชิน ชิน
หลังจากนั้นแพทย์จึงนำชิ้นกระดูกที่ถูกตัดขาดออกมา ใส่ขวดให้คนไข้เอากลับบ้านด้วย พร้อมกับการตกแต่งกระดูกส่วนที่เหลือให้กลมมนตามปกติ แล้วจึงเย็บแผลปิดตามเดิม
ปัญหาของการตัดด้วยวิธีนี้นั้นส่วนมากมักจะเป็นเรื่องเทคนิกการผ่าตัด
ซึ่งมัก จะต้องอาศัยประสบการณ์ความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด เป็นพิเศษ
รวมทั้งต้องการเครื่องมื่อที่เหมาะสมด้วยจึงจะทำให้การผ่าตัดได้ผลดีและกระดูกที่ตัด ออกมานั้นมีขนาดที่พอเหมาะ
การผ่าตัดจากภายในปากนี้มีการดึงรั้งกล้ามเนื้อ และเยื่อบุปากมากกว่าจึงมีอาการบวมค่อนข้าง จะมากกว่าการตัดจากภายนอกปาก แต่ไม่มีแผลเป็นให้เห็นจากภายนอก ซึ่งอาจเป็นคีรอยล์ได้และการกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทก็มักจะไม่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ผลข้างเคียงในการเสียหายจึงเกิดขึ้นได้ยากจนถึงไม่มีเลย
ภาพแสดงอาการบวมหลังจากทำ 2 วัน
(ตัดจากด้านในปาก )
ปกติส่วนใหญ่แพทย์จะตัดแต่งเฉพาะส่วนที่เป็นกระดูกยื่นเท่านั้น โดยที่ไม่ได้ตัดส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อ แต่มีในบางราย คุณหมอจะเอาออกให้หายแก้มยุ้ยบาง แต่เอาออกเท่าทีออกได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลค่ะ
ภาพด้านข้างหลังตัดกราม 2 วัน
และที่สำคัญก็คือ มีรายงานว่าเมื่อตัดแต่งกระดูกที่ยื่นออกไปแล้ว
จะทำให้กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่หดตัวเล็กลงได้เอง โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปฉีดโบท๊อกซ์กันให้เปลืองอีก
เอหรือว่าเป็นเพราะกินไม่ได้หลายวันเลยหน้าตอบลงด้วยรึเปล่าหนอ
ยังมีบางคนเข้าใจผิดเรื่องกรามอยู่มากเช่น เข้าใจว่าตัวเองมีกรามแต่จริง แล้วเป็นกล้ามเนื้อ ทำให้ใบหน้าดูดุ บึกบึน โดนล้อเป็นปมด้อย ก็สามารถใช้โบท๊อกฉีดให้เล็กลงได้ แต่ไม่ถาวร
( ขอเพียงมีเงินเท่านั้น ท่านสามารถสวยเลือกได้ทันตาเห็นทีเดียว )
และถ้าอยากรู้ว่า ดูยังไงว่าเป็นกล้ามเนื้อไมใช่กระดูกมุมกราม
กลับไปอ่าน ตอนที่ 1 ได้เลยจ้า
บรรยายและเรียบเรียงโดย : ป้าวุ้นเส้น pavoonsen_1@hotmail.com
ที่มาของข้อมูลวิชาการ : โรงพยาบาลยันฮี
ที่มาของภาพประกอบ : กูเกิ้ล เสริท