Botox ฉีดลดกราม ให้งามเรียว รีวิวภาพก่อนฉีดและหลังฉีด โบท๊อกซ์ หน้าเรียวค่ะ
ปรึกษามาดามวุ้นเส้น จองคิวศัลยกรรม
Line ID :@pavoonsen (มี@นะคะ)
Tel: 09004209999
เวลาทำการ 11.00-20.00 น.
Surgery Blinks You Up By
pAvOOnsen surgery represents beauty Agency
** คุณสามารถปรึกษาสอบถาม โดยแจ้งชื่อนามสกุล อายุ รูปถ่ายบริเวณที่ต้องการแก้ไข โรคประจำตัว หรือยาที่กินประจำ… ข้อมูลทุกอย่างเป็นความลับ….. จะตอบกลับทาง E-mail :pavoonsen_1@hotmail.com เท่านั้น !!! ขอความร่วมมือในการให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ของตัวท่านเองค่ะ **
Botox Botox Botox Botox
เจ้ายาพิษร้ายที่ทำให้คนไม่ตายแต่สวยได้
ถ้ารู้จักใช้แบบมีสติ
โบท็อกซ์ (Botox): สวยด้วยยาพิษ
ตอนนี้ ป้าเชื่อว่า น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักโบท๊อกซ์ หรือสารที่ฉีดลบรอยเหี่ยวย่น (ตีนกา) บนใบหน้าได้?
เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือเป็นเพียงคำเล่าลือเล่าอ้าง ขายยาเหมือนเวลาเค้าฉายหนังกลางแปลง
ในบทความตอนนี้ ป้าจะพาคุณๆ มาพิสูจน์ ความมหัศจรรย์พันลึกของเจ้าโบท๊อกซ์กันค่ะ ว่า “สารพิษ” จะนำมาใช้ประโยชน์ ในการทำศัลยกรรมความงามกันได้อย่างไร อย่างปลอดภัยไม่เสี่ยง
โบท็อกซ์ คืออะไร ?
คำว่า “โบท็อกซ์ (Botox?) เป็นชื่อทางการค้า (trade name) ของสารชีวภาพชนิดหนึ่งคือ โบทูลินัม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ซึ่งถ้าใครไปค้นคำว่า “โบทูลินัม” ดู ก็จะพบว่าเป็นชื่อของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งคือ คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษแก่มนุษย์
ภาพด้านล่าง ก่อนและหลังฉีดโบท๊อกซ์ลดกล้ามเนื้อแก้ม ลดกราม
คำว่า “ท็อกซิน” อาจจะเป็นสารพิษต่อมนุษย์หรือไม่ก็ได้ เช่น สารพิษบางอย่างเป็นพิษต่อแมลงบางชนิด แต่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ ในกรณีนี้ก็เรียกสารดังกล่าวว่า “ท็อกซิน” ได้เช่นเดียวค่ะ เช่นเดียวกับที่คุณหมอนำมาฉีดเพื่อเสริมสวยพวกเรากัน
“โบท็อกซ์” นั้นมีที่มาจากท็อกซิน ที่พบในแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษในมนุษย์นั่นเอง
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอันตรายเสียที่เดียวเพราะ ท็อกซินชนิดนี้พบตามธรรมชาติตั้งแต่ปี 1817 โดยนายแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ จัสทินัส เคอร์เนอร์ (Justinus Kerner)
กล่าวคือ อาจมีความรุนแรง ถึงขนาดทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว เนื่องจากท็อกซินดังกล่าว จะออกฤทธิ์โดยการไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาท ไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ชนิดหนึ่ง คือ อะซีทิลโคลีน (acetylcholine) ได้ มีผลทำให้กล้ามเนื้อไม่อาจหดตัวได้
ซึ่งในผู้ป่วยรายที่เสียชีวิต สาเหตุส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากว่า กล้ามเนื้อหน้าอกซึ่งเกี่ยวข้องกับการหายใจ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ นั่นเอง อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วล่ะซิ ว่ามันอันตรายแล้วทำไมป้าวุ้นเส้นฉีดละ จะสงสัยว่า ก็แล้ว “โบท็อกซ์” มาเกี่ยวข้องกับการลบรอยเหี่ยวย่นได้อย่างไร คำตอบเรื่องนี้ง่ายนิดเดียวนั่นก็คือ …
ก็เพราะป้ารู้ และอยากแนะนำว่า ถ้าคุณ ๆ ฉีดโบท๊อกซ์กับคุณหมอแท้ ๆ ที่มีจรรยาบรรณ ล่ะก็จะไม่เกิดอันตรายกับกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใด
ผู้เขียน: ป้าวุ้นเส้น E-mail : pavoonsen_1@hotmail.com
ผู้ฉีดโบท๊อกซ์ให้บุคคลในภาพ : คุณหมอปิ๋ม สุพีเวลเนสคลีนิค
หมายเหตุ เวลาติดต่อป้าวุ้นเส้นกรุณาแจ้งชื่อนามจริง สกุลจริง อายุ เบอร์โทร เพื่อความสะดวกและต่อเนื่องในการติดต่อสื่อสาร และเพื่อป้องกันความเข้าใจที่ผิดพลาดค่ะ