บทที่ 5 ตำแหน่งถุงเต้านม จะเอาวางไว้ที่ไหนดี
ปรึกษามาดามวุ้นเส้น จองคิวทำศัลยกรรม
ไลน์ id :@pavoonsen ( มี@นะคะ )
Tel: 0900420999
เวลาทำการ 11.00-20.00 น
บทที่ 5
ตำแหน่งถุงเต้านม จะเอาวางไว้ที่ไหนดี
ที่วางถุงซิลิโคนที่แพทย์นิยมทำอยู่ วางได้ดังนี้
เหนือกล้ามเนื้อ (SUBGLANDULAR PLACEMENT)
ใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด (COMPLETELY SUBMUSCULAR)
1.เหนือกล้ามเนื้อ (SUBGLANDULAR PLACEMENT) เป็นการใส่ถุงเต้านมที่ระดับใต้เนื้อเต้านมโดยที่ถุงซิลิโคนวางอยู่เหนือกล้ามเนื้อ การผ่าตัดไม่ยุ่งยากจึงมีผลข้างเคียงน้อยกว่าและหายเร็วกว่าเหมาะสำหรับคนที่มีไขมันหรือเนื้อเหยื่อเต้านมเพียงพอจะเป็นกันชนระหว่างผิวเนื้อกับเต้านมเทียมทำให้ได้เต้านมที่สวยงามเป็นธรรมชาติ
การผ่าตัดเสริมหน้าอกโดยวางตำแหน่งถุงเต้านมเทียมเหนือกล้ามเนื้อ
ข้อดี
ไม่มีการเคลื่อนตัวของถุงเต้านมเทียมขณะที่มีการขยับกล้ามเนื้อ
เจ็บน้อยกว่า(ในระยะแรก)ระยะพักฟื้นสั้นกว่า
มองดูเป็นธรรมชาติมากกว่าถ้ามีเนื้อนมมากพอ
การผ่าตัดทำได้ง่าย
กรณีที่เต้านมคล้อยไม่มากอาจช่วยแก้ปัญหาเต้านม
คล้อยทำให้ไม่ต้องทำการผ่าตัดกระชับเต้านม
สามารถใส่ถุงขนาดใหญ่มากๆได้
ข้อเสีย
ในรายที่ผิวหนังบางมีโอกาสคลำพบขอบเต้านมเทียมได้สูงกว่า
มองเห็นขอบเต้านมเทียมได้มากกว่า เพราะอยู่ตื้นกว่า
ตัวเต้านมเทียมมีโอกาสคล้อยได้มากกว่า
ถ้ามีรอยพับของถุงเต้านมจะมองเห็นและคลำได้ชัดเจน
กว่าโดยเฉพาะถุงที่เป็นผิวทราย
ทำให้เต้านมจริงถูกเบียดได้มากกว่าหรือหดแฟบได้มากกว่า
มีโอกาสที่เต้านมจะเคลื่อนที่ลงล่างได้มากกว่า(Bottoming)ทำให้เกิดลักษณะเต้านมคล้อยมาก
ถ้าคล้อยพอดี พอดี ก็จะได้น๊มนมแบบอั๊มนะซี ชอบใช่ไหมค๊ะ
.ใต้กล้ามเนื้อ(Completely Submuscular)
การวางตำแหน่งถุงไว้ใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด เป็นการวางถุงเต้านมไว้ใต้กล้ามเนื้อสามมัดคือ ด้านบน และส่วนกลาง วางไว้ใต้กล้ามเนื้อหน้าอกมัดใหญ่ ด้านข้างของหน้าอกส่วนบนวางใต้กล้ามเนื้อด้านข้างของหน้าอก ส่วนด้านล่างวางไว้ใต้ส่วนบนของกล้ามเนื้อท้อง ดังนั้นถุงเต้านมจะถูกคลุมด้วยกล้ามเนื้อทุกด้าน (Rectus abdomininis และ Serratus anterior)
กล้ามเนื้อทั้งสามมัดช่วยทำหน้าที่เป็นเปลที่รับถุงซิลิโคนป้องกันไม่ได้มีการเคลื่อนของถุงลงล่าง
การผ่าตัดวางถุงใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด อาจทำได้ทั้งทางปานนม,ราวนม หรือรักแร้แต่การทำผ่าตัดทางรักแร้มีข้อดีที่กล้ามเนื้อส่วนล่างไม่มีการฉีกขาด
ข้อดี
มีโอกาสคลำรอยพับของถุงเต้านมเทียมน้อยมาก
มองเห็นขอบเต้านมเทียมได้น้อยกว่า
พบรอยย่นน้อยกว่า
ตัวเต้านมเทียมมีโอกาสคล้อยได้น้อยกว่า
ทำให้เต้านมจริงถูกเบียดน้อยกว่าหรือหดแฟบได้น้อยกว่า
ถ้ามีปัญหาเรื่องพังพืดรัดจะมองเห็นไม่ชัด
เต้านมมีรูปทรงธรรมชาติเนื่องจากส่วนบนถูกกด
โดยกล้ามเนื้อหนาๆขณะที่ส่วนล่างถูกกดโดยกล้ามเนื้อบางๆทำให้รูปทรงเต้านมเป็นธรรมชาติ
ไม่มีรอยย่นของถุงเต้านม(ยกเว้นในผู้หญิงที่ผอมมากและใช้ถุงผิวทราย)
โอกาสเกิดพังพืดหดรัดน้อยมาก
ไม่มีผลต่อการอ่าน แมมโมแกรม
โอกาสที่ถุงเต้านมจะเลื่อนลงลดน้อยลงมาก
ลดโอกาสที่จะคลำขอบถุงได้
ข้อเสีย
มีการเคลื่อนตัวของถุงเต้านมเทียมได้ขณะที่มีการขยับกล้ามเนื้อ
เจ็บมากกว่า(ในระยะแรก)
ใช้เวลานานกว่าจะเข้าที่แต่ถ้าเข้าที่แล้วจะเป็นธรรมชาติ
ใช้เวลานานกว่าจะเข้าที่แต่ถ้าเข้าที่แล้วจะเป็นธรรมชาติ
หน้าอกจะดูห่างกว่า
ถ้าต้องการแก้ไขภายหลังทำได้ยาก
เทคนิคค่อนข้างยาก(ถ้าลงแผลทางใต้ราวนมหรือหัวนม)
เป็นเรื่องของหมอเค้าข้อนี้เราไม่เกี่ยว
ถ้าต้องการแก้ไขภายหลังทำได้ยาก
ในกรณีที่เต้านมคล้อยมากและมีขนาดเต้านมใหญ่ไม่ควรเลือกการวางตำแหน่งนี้เพราะอาจทำเต้านมเป็นมีรูปร่างเป็นสองลอนโดยที่เต้านมคล้อยแต่มีขนาดใหญ่เฉพาะส่วนใต้กล้ามเนื้อ(Snoopy breast)
ระยะเวลาพักฟื้นนานกว่าโดยในช่วงแรกต้องพยายามลดการขยับแขนเนื่องจากการขยับแขนจะทำให้ถุงเต้านมเคลื่อนไปมาได้มาก