บทที่ 4 ทางเข้าของซิลิโคน
ปรึกษามาดามวุ้นเส้น จองคิวทำศัลยกรรม
ไลน์ id :@pavoonsen ( มี@นะคะ )
Tel: 0900420999
เวลาทำการ 11.00-20.00 น
บทที่ 4
ทางเข้าของซิลิโคน
โดยทั่วไปแผลผ่าตัดที่สามารถใช้เสริมหน้าอกได้ มีดังนี้
1. รักแร้
2. ปานนม
3. ใต้ราวนม
4. สะดือ
5. ผ่านแผลผ่าตัดอื่นๆ เช่น แผลผ่าตัดไขมันหน้าท้อง หรือ การเสริมหน้าอกร่วมกับการกระชับที่หน้าอก
แต่วันนี้ป้าวุ้นเส้นของกล่าวถึงแผล 3 ประเภท ที่ได้รับความนิยมและสอดคล้องกับสภาพร่างกายคนไข้ดังนี้
การเลือกแผลผ่าตัด อยู่กับความชำนาญของศัลยแพทย์ โดยทั่วไปแพทย์บางท่านอาจมีแผลผ่าตัดบางตำแหน่งที่ ชำนาญและทำได้ดีก็อาจต้องเลือกแผลตามความถนัดของแพทย์ ถ้าเลือกถุงซิลิโคนขนาดใหญ่อาจไม่เหมาะที่จะเข้าทางปานนมที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก หรือแผลทางเข้าที่สะดือก็ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ที่ต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ ผ่าตัดเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นจึงนิยมเปิดแผลผ่านทางรักแร้มากที่สุด
ความยาวของแผลขึ้นอยู่กับลักษณะของซิลิโคนโดยทั่วไป การใช้ถุงน้ำเกลือที่ต้องฉีดน้ำเกลือภายหลังสามารถเปิดแผลเล็กๆได้ เพราะถุงที่ใส่ผ่านแผลเป็นถุงเปล่า ขณะที่สอดถุงผ่านแผลผ่าตัดสามารถม้วนถุงให้มีขนาดเล็กได้ ขณะที่ถุงเจลจะมีการใส่เจลในถุงมาก่อนจากบริษัท ขณะที่ใส่ถุงที่มีเจล ผ่านผ่าตัดทำให้แผลทางเข้าต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร นอกจากนั้นแล้วถุงเจลผิวเรียบและผิวทรายก็มีผลต่อขนาดของแผลเหมือนกัน ถุงผิวเรียบมีลักษณะนิ่มกว่า และสามารถจับเปลี่ยนรูปร่างได้มากกว่าถุงเจลผิวทราย ทำให้ใส่ผ่านแผลขนาดเล็กได้ง่ายกว่า ดังนั้นถ้าใช้ถุงเจลผิวเรียบ ก็จะสามารถเปิดแผลที่มีขนาดเล็กกว่าผิวทราย
ลักษณะของแผลรักแร้ โดยทั่วไปจะมีขนาด 2-3 ซ.ม. ด้านในของรักแร้ บริเวณกึ่งกลางตำแหน่งของแผลมักเลือกบริเวณที่มีรอยลึกที่สุดของรักแร้ เพื่อช่วยให้แผลเป็นในรอยร่องรักแร้เดิม ถ้าดูแลแผลได้ดี แผลที่รักแร้จะมองไม่ค่อยชัดหลังจากภายหลังแล้ว นอกจากนั้นหลังการเข้าทางรักแร้ ช่วยให้บริเวณหน้าอกไม่มีแผลเป็นเลยรักแร้เป็นตำแหน่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจ ดังนั้นจะมักไม่เป็นที่สังเกต นอกจากนั้นถ้าเลือกตำแหน่งที่ลงแผลในรักแร้จริงๆแล้ว เย็บปิดแผลอย่างดี แผลเป็นก็จะดีมาก ทำให้ไม่เป็นที่สังเกต
การเสริมหน้าอกโดยทั่วไปใช้แผลรักแร้จะทำได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์แต่ละ วิธีการนี้สามารถ ใส่ถุงเต้านมได้ทั้งตำแหน่ง เหนือกล้ามเนื้อ, ใต้กล้ามเนื้อบางส่วน และใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด เป็น
ตำแหน่งที่ดีมาก สำหรับการใส่ใต้กล้ามเนื้อเพราะสามารถยกกล้ามเนื้อขึ้นได้ทั้งหมด การเข้าทางรักแร้ ช่วยให้บริเวณเต้านมไม่มีแผลเป็น โดยที่แผลเป็นซ่อนอยู่ในรักแร้
ข้อเสียก่อนการผ่าตัดรักแร้ คือ ถ้าต้องการแก้ไขหลังผ่าตัดครั้งแรก อาจจำเป็นต้องเปิดแผล ตำแหน่ง
อื่นๆ เช่น หัวนมหรือให้ราวนม เพราะแผลทางรักแร้ไม่สามารถมองเห็นตำแหน่งที่ถุงเต้านมอยู่ได้ชัดเจน การแก้ปัญหาบางชนิด เช่น การที่ถุงเต้านมเลื่อนลง หรือการตัดพังพืด สามารถทำได้ค่อนข้างยาก ถ้าใช้แผลรักแร้ ดังนั้น
ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นภายหลังอาจต้องเปิดแผลหัวนมหรือปานนมแทน
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือการที่แผลผ่าตัดอยู่ไกลจากตำแหน่งของเต้านม การเลาะเปิดช่องใส่เต้านมอาจ
เปิดช่องว่างได้ไม่ดีหรือไม่กว้างพอ โดยเฉพาะการเสริมเหนือกล้ามเนื้อ
แผลผ่าตัดที่รักแร้ จะเจ็บหลังผ่าตัดมากกว่าแผลที่หัวนมหรือฐานนม เนื่องจากมีการเปิดช่องว่างในถุง
เต้านมในระยะทางยาวกว่า แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยา โดยส่วนใหญที่จะไม่เจ็บเลยคือ มอร์ฟีน
แผลหัวนมอาจเรียกว่าแผลปานนม (AREOLAR, NIPPLE) โดยการเปิดแผลที่บริเวณขอบล่าง ของปานนมเป็นรอยต่อของสีเข้มกับสีอ่อนของหน้าอก สามารถทำการผ่าตัดใส่ถุงเต้านมเหนือหรือใต้กล้ามเนื้อ สามารถประมาณตำแหน่งที่เราผ่าตัดได้ชัดเจน สามารถเปิดช่องใส่ถุงเต้านมได้พอดี
แผลที่เปิดบริเวณขอบล่างของปานนมเป็นตำแหน่งที่ ผิวหนังสีเข้มต่อกับผิวหนังสีขาวของเต้านมแพทย์บางคนอาจลงแผลกลางปานนมก็ได้แต่ไม่เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป กรณีที่ลงแผลขอบล่างปานนม แผลที่ลงควรลงไปตำแหน่งของรอยต่อ ปานนมและเนื้อนมพอดี ไม่ควรลงด้านในของปานนม เพราะถ้าแผลหายดีบริเวณแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นสีขาวทำให้เห็นแผลเป็นได้ชัด
แผลหัวนมถ้าหายดีจะมองเห็นไม่ชัด แต่ถ้าแผลหายช้ามักมีปัญหา แผลเป็นแผลหลังติดเชื้อจะมองเห็นแผลเป็นได้ชัดกว่าแผลที่หายเป็นปกติ เพราะฉะนั้น ทางรักแร้จึงได้รับความนิยมมากกว่า หากเสริมหน้าอกเพียงอย่างเดียว อย่างที่ได้บอกไปแล้วค่ะ
แต่ในกรณีที่ต้องการยกกระชับหน้าอกร่วมกันกับเสริมหน้าอกแผลหัวนมเป็นแผลที่ควรใช้มากที่สุดเพราะการยกกระชับหน้าอก จะต้องเปิดแผลบริเวณหัวนมด้วยอยู่แล้ว ดังนั้นในการที่จะต้องยกกระชับหน้าอกด้วย ควรเลือกแผลนี้เป็นทางเข้าของซิลิโคน
ข้อจำกัดของการใช้แผลหัวนมคือถ้าปานนมเล็กแต่ต้องการใส่ถุงขนาดใหญ่มากอาจไม่สามารถทำได้
คนทั่วไปจะคิดว่าการเปิดแผลปานนมไม่สามารถใส่ถุงเต้านมใต้กล้ามเนื้อได้แต่ในความจริงแล้วแผลใต้ปานนมสามารถใส่ถุงเต้านมไว้ได้ทำเหนือหรือใต้กล้ามเนื้อ การใส่ใต้กล้ามเนื้อจะเจ็บกว่าเพราะจะมีการเปิดชั้นกล้ามเนื้อด้วย
ข้อเสียของการลงแผลที่หัวนมคือ เนื่องจากแผลอยู่กลางหัวนม ถ้าแผลมีปัญหาเช่นอักเสบ บวมมาก
แผลเป็นก็จะเห็นได้ชัดมาก แผลมีผลต่อการให้นมบุตรในกรณีที่หัวนมขนาดเล็ก อาจมีอาการชาที่หัวนมในระยะแรกได้และเนื่องจากการผ่าตัดต้องผ่าผ่านท่อน้ำนมมีความเชื่อว่าอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคในท่อน้ำนมไปยังตำแหน่งที่วางถุงเต้านมทำให้มีโอกาสเกิดพังพืดขึ้นได้
แผลใต้ราวนม เป็นแผลผ่าตัดที่นิยมทำกันมากในต่างประเทศ แผลใต้ราวนมสามารถใช้สำหรับใส่ถุงเต้านมที่ระดับเหนือกล้ามเนื้อหรือใต้กล้ามเนื้อ และสามารถใช้ได้ดีในกรณีต้องการเอาถุงเต้านมออก เมื่อไม่ต้องการการลงแผลแบบนี้ช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งของช่องว่างสำหรับใส่ถุงเต้านมได้ดี ทำให้วางถุงเต้านมได้ถูกต้องอย่างดี และแผลผ่าตัดจะไม่มีการตัดผ่านท่อนม ทำให้โอกาสที่มีเชื้อแบคทีเรียเข้ามาปนเปื้อนมีน้อย
การเปิดแผลแผลจะลงที่ตำแหน่งขอบล่างของเต้านม ซึ่งจะเป็นรอยพับของเต้านมพอดีถ้าลงในตำแหน่งที่ดีแผลเป็นจะอยู่ที่รอยพับพอดีทำให้มองไม่ค่อยเห็นแผลเป็นเวลายืนหรือนั่ง แต่อย่างไรก็ตาม เวลานอนก็จะเห็นแผลเป็นได้ชัดเจนส่วนใหญ่แล้วผ่าตัดแพทย์จะลงแผลต่ำกว่ารอยพับใต้ราวนมเดิมเล็กน้อยเพื่อให้ดูแผลเป็นถูกปิดบังโดยเต้านมทำให้มองไม่เห็น
ข้อดีของการลงแผลใต้ราวนม คือเมื่อจำเป็นที่ต้องผ่าตัด แก้ไขจากปัญหาอื่นๆ เช่นพังพืด,ถุงนมเลื่อนลงหรือถุงนมเข้ามาชิดกัน สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด ถ้าเริ่มผ่าตัดครั้งแรกด้วยแผลรักแร้แล้ว ต้องแก้ไข บางครั้งอาจต้องลงแผลใหม่ เป็นแผลที่ราวนมหรือหัวนม ในการผ่าตัดครั้งที่ 2 ทำให้มีแผลเป็น 2 ที่
ปัญหาของการเปิดแผลนี้ พบในคนที่มีเนื้อนมน้อยมากจนไม่มีขอบใต้ราวนมทำให้เวลาเปิดแผลต้องเอา
คาดเดาเอาว่าขอบของเต้านมที่จะเกิดขึ้นใหม่ หลังการเสริมเต้านมจะเป็นบริเวณใด แต่โดยทั่วไปศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์ มักจะวางแผนเลือกแผลทางเข้าได้ดี จึงมักไม่ค่อยมีปัญหานี้ นอกจากนั้นแล้ว แผลเป็นบริเวณนี้
จะเปลี่ยนระดับสูงขึ้นหรือต่ำลงขึ้นอยู่กับขนาดของถุงเต้านม
ดังนั้นก่อนผ่าตัดจะต้องวางแผนให้ดีเกี่ยวกับเรื่องขนาด คนไข้จะต้องแน่ใจเรื่องขนาด เพราะการเปลี่ยนขนาดในภายหลังอาจทำให้แผลเป็นเห็นชัดขึ้น กล่าวคือ
โดยทั่วไปหลังการเสริมหน้าอกโดยใช้แผลใต้ราวนม เราจะเอาจุดศูนย์กลางของถุงอยู่ที่หัวนม และขอบของถุงอยู่ที่ขอบล่างของราวนมพอดี ดังนั้นในคนคนเดียวกัน ถ้าใช้ถุงขนาดใหญ่มากแผลทางเข้าจะอยู่เลื่อนสูงขึ้นกว่าขอบราวนมเดิมเพราะรอยพับของเต้านมจะเลื่อนลง ดังนั้นถ้าคนที่เคยใส่ถุงขนาดเล็กแล้วเปลี่ยนเป็นไซด์ใหญ่ขึ้น
แผลเป็นก็จะเปิดสูงขึ้นกว่าขอบราวนมทำให้แผลไม่อยู่พอดีที่รอยพับใต้ราวนมแต่จะอยู่สูงกว่ารอบพับเล็กน้อย
ขณะเดียวกันถ้าผ่าตัดเปลี่ยนขนาดเป็นขนาดเล็กลง แผลเป็นก็จะขยับต่ำลง ถ้าเปลี่ยนใจเอาถุงนมออก แผลเป็นก็จะเห็นชัดเจน เพราะไม่มีเนื้อนมบังแผล ซึ่งเป็น
ข้อจำกัดในการเปิดแผลใต้ราวนม
การเปิดแผลราวนม เหมาะกับผู้ที่อยู่ประเทศตะวันตกเพราะคนผิวขาวแผลเป็นจะดี หลังจากผ่านไป 3-6 เดือน ก็มองเห็นไม่ชัด และเหมาะกับคนที่มีเนื้อนมมากพอสมควรที่เต้านมจะต้องสามารถปิดแผลเป็นได้ในคนไทยหรือคนเอเชียการเปิดแผลแบบนี้ อาจต้องระมัดระวังเพราะแผลเป็นหลังผ่าตัดอาจเห็นได้ชัดนี่คือเหตุผลว่าทำไมคนไทยถึงไม่นิยมใช้แผลแบบนี้ แผลเป็นการผ่าตัดนี้จะสามารถเพิ่มความยาวกว่าแผลอื่นๆกรณีที่ต้องใส่ถุงขนาดใหญ่มาก คนไทยส่วนใหญ่ใส่ซิลิโคนไม่เกิน 400 CC ไม่งั้นเวลาเดินหน้าต้องทิ่มแน ๆ เหอเหอ