ตาเหล่ ตาเข ตาเอก ตาส่อน รักษาได้นะจ๊ะ
ปรึกษามาดามวุ้นเส้น
ติดต่อ line : @pavoonsen (มี@นะคะ)
Tel: 0900420999
เวลาทำการ 11.00-20.00 น
ตาเหล่ ตาเข ตาส่อน ตาเอก
นอกเหนือจากการตาตี่ ตาเล็ก ตาชั้นเดียว ตาโบว๋ ตาโปน ซึ่งบางคนได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษแล้วนั้น ตาอีกแบบที่สร้างปัญหาให้เจ้าของตา ปวดหัวใจไม่สามารถสบตาใคร แม้ในยามรัก หรือยามชัง อย่างสง่าผ่าเผย ก็คือตาเหล่ ตาเข ตาส่อน ตาเอก นี่แหละค่ะ ความผิดปกติเหล่านี้ เทคนิคทางการแพทย์สมัยใหม่ ช่วยให้เจ้าของตา สามารถเฉิดฉายได้ไม่อายใคร ทำอย่างไร มาดูกันค่ะ
ตาเหล่ ตาเข (Squint หรือ Strabismus)
ในทางการแพทย์ถือเป็นประเภทเดียวกัน คือ ภาวะที่ตาทั้งสองข้างไม่อยู่ในแนวตรง มีสายตาผิดปกติเนื่องจากความโค้งกระจกตาดำไม่สม่ำเสมอ ตาดำไม่เป็นทรงกลม ทำให้การมองเห็นภาพวัตถุไม่ชัด
ปกติแล้วตาดำทั้งสองข้างจะมองขนานกัน หากเกิดความผิดปกติบางอย่างทำให้แนวทางลูกตาเบี่ยงเบนไปจากแนวปกติ เกิดเป็นตาเหล่ ตาเข ขึ้นได้ทันที ต้องขจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้โดยเร็ว เพื่อให้ตาทรงตัวอยู่แนวตรง มองเห็นชัดขึ้น หากไม่รีบรักษา ตาข้างที่เหล่จะหยุดทำงาน ค่อยๆ มั่วลงจนมองเห็นไม่ชัด ซึ่งอาจแก้ไขไม่ได้ หรือเกิดเป็นตาบอด(ไม่สนิท)
ตาเหล่มีหลากหลาย จำแนกได้ดังนี้
1. ตาเหล่ไม่จริง หรือไม่ได้ตาเหล่ แต่ดูไปดูมาบางครั้งเหมือนตาจะเหล่ คือ ลักษณะของตาที่ดูเผินๆ คล้ายตาเหล่เมื่อแพทย์ตรวจกลับพบว่า ไม่เหล่ มักพบในวัยเด็ก ลองไปสบตาเด็กเล็ก ๆ บางคนดู จะมีลักษณะตาที่ไม่สามัคคีกันนิดหน่อย แต่อย่าไปเผลอทักลูกคนอื่นว่าตาเหล่นะ เดี๋ยวแม่เค้าตบเอา เด็กบางคนที่ป้าวุ้นเส้นกล่าวถึงนี้ ลักษณะรูปเปลือกตาค่อนข้างเล็ก ตาเฉียง ๆ หัวตาอยู่ต่ำกว่าหางตา และเด็ก ๆมักมีลูกตาดำใหญ่ เหมือนคนใส่ Big eye จึงแลดูว่าลูกตาอยู่ชิดหัวตา เหมือนลักษณะตาเขเข้าด้านใน ถ้าจมูกไม่ได่ง ยิ่งเห็นชัดมาก แต่พอโตหน่อยก็มักจะหายไป ถ้าลูกคนข้างบ้างเป็นเช่นที่ว่านี้ ตอนโตเป็นหนุ่ม ไปตามดูอีกทีซิ ว่าหายมั๊ย ป้าวุ้นเส้นก็ติดตามอาการ คอยดูตาเด็กหนุ่ม ๆ อยู่หลายคนเหมือนกัน ฮ่า ฮ่า
นอกจากเด็กแล้ว ยังมีผู้ใหญ่ ที่หัวตา อยู่ชิดกันมาก แม้ดั้งจมูกจะสูงลิบลิ่วเพียงใด แต่ก็ทำให้ดูเหมือนลูกตาจะ มาอยู่ใกล้กัน กับอีกแบบคือ หัวตาอยู่ห่างกันมาก ดั้งก็ไม่ค่อยมี ลูกตาเลยเหมือนจะเขออกไปด้านข้างหู ซะงั้น
2. ตาแอบเหล่ เกือบตาเหล่ หรือที่เรียกตาส่อน อันนี้มี DJ คลื่นวิทยุชื่อดัง ที่มีตาลักษณะนี้ อยู่คนนึง คงไม่ต้องใส่อักษรย่อ เดี๋ยวป้าวุ้นเส้นจะโดนคดีหมิ่นประมาทเอาได้นะ นึก ๆ กันเอาเองแล้วกัน คือ เขที่ซ่อน หรือกลบเกลื่อนไว้ได้ไม่ให้เข แต่อาจจะแสดงอาการเขออกมาได้บางครั้งบางคราว ทำให้ลูกตาไม่ตรงกับสิ่งที่มอง คนที่ตาลักษณะนี้ มักมีภาวะปวดตามึนงง ได้ ถ้ากล้ามเนื้อในการบังคับตาให้ตรงเกิดอาการอ่อนเพลียหรือเมื่อยล้าคล้ายเมื่อยตา ถ้าไม่เผลอก็ไม่ค่อยเห็นอาการ
3. ตาเหล่จริง ๆ ไม่ได้แอ๊บหลอกใคร อันนี้ก็มีหลายประเภทนะค๊ะ เขียนไป หาข้อมูลไปก็เริ่มเครียด ตาบจะเหล่ตามไปด้วย
ตาเหล่เข้าด้านในหัวตา (esotropia) คือ ตาดำจะหลุบเข้าด้านใน หรือมุดเข้าหาหัวตา พบได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือเริ่มเข เมื่ออายุ 2-3 ปี
ตาเหล่ออกด้านนอก (exotropia) คือ ตาดำเบนหรือเฉียงออกไปทางหางตา (พบได้น้อย) มักเกิดร่วมกับภาวะดังต่อไปนี้
A.สายตาสั้น ทำให้การมองภาพระยะไกลไม่ชัด การจ้องภาพไม่สามารถทำได้ดีด้วยตาทั้ง 2 ข้าง ตาใดตาหนึ่งอาจเบี่ยงออกนอกแนวปกติ แก้ได้ด้วยการสวมแว่นที่เหมาะสมกับสายตา หากปล่อยไว้ไม่แก้ไขก็จะยิ่งเขออกนอกมากขึ้นเรื่อยๆ
B.ตาข้างที่เหล่มองเห็นไม่ชัด อาจเป็นเพราะโรคแทรกซ้อนต่างๆ เป็นผลให้ตาข้างนั้นไม่สามารถจะจับจ้องภาพได้ จึงเบนออกด้านนอก หรือเคยประสบอุบัติเหตุมีวัตถุแปลกปลอมเข้าตา จนเกิดมีแผลเป็นที่ตาดำ
-ตาเหล่ขึ้นบน (hypertroption) คือ ตาดำลอยขึ้นบน อาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อกลอกตา (พบได้น้อย)
-ตาเหล่ลงล่าง (hypotroption) คือ ตาดำมุดลงล่าง เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อกลอกตา หรือมีแผลเป็นที่กล้ามเนื้อตาหลังประสบอุบัติเหตุ ดึงรั้งให้ลูกตาดำมุดลงล่าง (พบได้น้อย)
4. ตาเหล่ชนิดอัมพาตของประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อตา มักพบในผู้ใหญ่ พบน้อยในเด็ก มีสาเหตุหลายประการ เช่น
- กล้ามเนื้อกลอกตาอ่อนตัว ทำให้ตาทรงตัวตรงต่อไปไม่ได้ กล้ามเนื้อมัดตรงข้ามมีแรงดึงมากขึ้น จึงดึงลูกตาเอียงไปทางเหล่ หรือมีแรงกระแทกจากอุบัติเหตุอย่างรุนแรง ทำให้ประสาทบังคับการกลอกตามัดใดมัดหนึ่งเป็นอัมพาตทันที - เกิดหลังจากเป็นโรคอื่นๆ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนกำลังหากเป็นนานๆ ตาอาจเขออกนอกได้
การรักษาโรคตาเหล่
การรักษาตาเหล่มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของโรค ตาเหล่บางชนิดสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด บางชนิดรักษาโดยการผ่าตัดเท่านั้น บางชนิดต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน
1. การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ทำได้หลายวิธี
• ให้แว่นสายตา ใช้รักษาในผู้ป่วยตาเหล่ที่มีสาเหตุมาจากสายตาผิดปกติ (refractive errors) เช่น สายตายาวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่เข้า, สายตาสั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่ออก
• ให้แว่น prism ซึ่งช่วยหักเหแสงให้ตกลงพอดีที่จุดรับภาพที่จอตา
• การฝึกกล้ามเนื้อตา
• การรักษาด้วยยา ยาที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาตาเหล่ ได้แก่ botulinum toxin (Botox) ซึ่งเป็น toxin ที่ได้มาจากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ใช้ฉีดเข้าโดยตรงที่กล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอ่อนแรง มีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 2-3 เดือน
• การรักษา amblyopia ในเด็กตาเหล่ที่มีตาขี้เกียจ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาทันที และต้องรักษาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ เด็กยิ่งโตการรักษายิ่งได้ผลน้อยลง เด็กอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไปมักรักษาไม่ได้ผลแล้ว ตาข้างนั้นก็จะมัวอย่างถาวร การรักษาตาขี้เกียจทำโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน
2. รักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา
ทำให้ตาตรง และให้ผลดีทางด้านการทำงานของตาด้วยโรคตาเหล่ที่เกิดเป็นมาตั้งแต่เด็ก ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจนถึงวัยผู้ใหญ่จะทำการรักษาได้หรือไม่ ยังทำการรักษาได้ โดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาทำให้ตาดูตรงเป็นปกติ ซึ่งก็จะมีผลดีทางด้านสังคมและจิตใจ ทำให้บุคลิกดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บางคนที่มีอาการปวดตาเวลาใช้สายตา เมื่อผ่าตัดแล้วจะทำให้หายปวดตาได้
เป็นไงค๊ะ คนที่มี ตาเหล่ ตาเข ตาเอก ตาส่อน คงสบายใจกันขึ้นหลังจากได้อ่านบทความนี้
ไม่มีอะไรที่แพทย์ไทยทำไม่ได้ค่ะ แพทย์ไทยเก่งออก
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ จาก chulalongkornhospital.go.th